|
|
|
|
|
|
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องจัดตั้งสุขาภิบาลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ด้วยกระทรวงมหาดไทยพิจารณาเห็นว่า ท้องถิ่นบางส่วนของตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มีสภาพอันสมควรยกฐานะเป็นสุขาภิบาลได้ เพื่อประโยชน์ในการทำนุบำรุงท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 จึงให้ยกฐานะท้องถิ่นบางส่วนของตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก |
|
|
|

  
 |
จัดตั้งเป็นสุขาภิบาล ชื่อว่า “สุขาภิบาลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก” และได้เปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มาเป็นเทศบาลตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เมื่อ พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติ เปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 |
|
|
|
|
เทศบาลตำบลท่าสายลวด อยู่ในท้องที่ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตั้งอยู่บนทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 105 (ตาก - แม่สอด) มีอาณาเขตห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่สอด ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 4 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัด 91 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 513 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 10.10 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 6,312.50 ไร่คิดเป็นร้อยละ 0.05 ของเนื้อที่อำเภอแม่สอด |
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสายลวด |
 |
|
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
เทศบาลตำบลแม่ตาว |
|
 |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
เทศบาลนครแม่สอด |
 |
|
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
ประเทศสหภาพเมียนม่าร์ โดยมีแม่น้ำเมยเป็นเส้นกั้นพรมแดน |
|
|
|
|
|
    |
|

 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|

  
 |
|
ภูมิประเทศของเทศบาล มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบทั้งหมด |
|
|
|

  
 |
|
ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลท่าสายลวด ประกอบอาชีพค้าขาย รับจ้าง เกษตรกรรม และธุรกิจส่วนตัวประกอบอุตสาหกรรมในครัวเรือน, รับจ้างทั่วไปและบริการอื่นๆ รายได้ประชากรต่อคนเฉลี่ยแล้ว 39,531 บาท/ปี |
|
|
|
|
|
|
ลักษณะอากาศมีลักษณะร้อนชื้น อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู ซึ่งมี 3 ฤดู ดังนี้ |
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม จนถึงกลางเดือนเมษายน อากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่บางครั้งอาจมีอากาศเย็น บางครั้งเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง จะมีอุณหภูมิระหว่าง 33 - 38 องศาเซลเซียส หากร้อนจัด จะมีอุณหภูมิประมาณ 39 องศาเซลเซียสขึ้นไป |
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ฝนตกมากในช่วงเดือน พฤษภาคม - ตุลาคม แต่อาจเกิด “ช่วงฝนทิ้ง” ซึ่งอาจนานประมาณ 1 - 2 สัปดาห์ หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน ในเดือนกรกฎาคม เขตเทศบาลเคยเกิดอุทกภัยรุนแรงที่สุดในปี พ.ศ. 2556 มีฝนตกเฉลี่ยประมาณ 900 มิลลิเมตร |
|
|
|

  
 |
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนานราว 1 - 2 สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็นหรืออาจยังมีฝนฟ้าคะนอง อากาศหนาวอุณภูมิต่ำสุด ประมาณ 10 องศา |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 24,400 คน แยกเป็น |

 |
ชาย 12,635 คน |
คิดเป็นร้อยละ 51.78 |

 |
หญิง 11,765 คน |
คิดเป็นร้อยละ 48.22 |
จำนววนครัวเรือน 4,119 ครัวเรือน |
ความหนาแน่นเฉลี่ย 2,415.84 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
|
|
|
 |
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน
ครัวเรือน |
 |
|
- |
|
เทศบาลตำบลท่าสายลวด |
775 |
707 |
1,482 |
2 |
|
 |
1 |
|
บ้านแม่ตาว |
10,094 |
9,378 |
19,472 |
2,187 |
 |
|
2 |
|
บ้านริมเมย |
1,086 |
1,036 |
2,122 |
1,364 |
|
 |
5 |
|
บ้านหนองกิ่งฟ้า |
287 |
249 |
536 |
178 |
 |
|
6 |
|
บ้านห้วยม่วง |
393 |
395 |
788 |
388 |
|
 |
|
|
รวมทั้งสิ้น |
12,635 |
11,765 |
24,400 |
4,119 |
 |
|
|
*****ข้อมูล ณ เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2559***** |
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
|