หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
เทศบาลตำบล ท่าสายลวด ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
หน้าหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลหน่วยงาน
บุคลากร
บุคลากร
การบริหารบุคคล
การบริหารบุคคล
ข่าวสาร
ข่าวสาร
แผน
แผน
รายงาน
รายงาน
ระเบียบ
ระเบียบ
บริการประชาชน
บริการประชาชน
 
เทศบาลตำบลท่าสายลวด
อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
 
 
 
 


 
ประชาสัมพันธ์ โรคไข้เลือดออก ภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม  
 

ประชาสัมพันธ์ โรคไข้เลือดออก ภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม
เป็นได้ทุกเพศ ทุกวัย หาก...ชะล่าใจ...อาจตายได้
ในช่วงหน้าฝนแบบนี้กลุ่มโรคที่จะไม่พูดถึงไม่ได้ คือ กลุ่มโรคที่มากับยุงลาย ซึ่งกลุ่มโรคเหล่านี้จะมียุงลายเป็นพาหะนำโรค และไม่ติดต่อจากคนสู่คน โดยโรคที่พบบ่อยในประเทศไทย ได้แก่ โรคไข้เลือดออก (Dengue Fever) โรคไข้ชิคุนกุนยา (Chikungunya Fever) และโรคไข้ซิกา (Zika Fever)
#โรคไข้เลือดออก เป็นอีกหนึ่งโรคที่ระบาดในช่วงฤดูฝน เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) มี 4 สายพันธุ์ โรคไข้เลือดออกนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกกลุ่มอายุ และสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้! หากเกิดอาการรุนแรง แม้ว่าจะเคยติดเชื้อไข้เลือดออกแล้ว ก็สามารถติดเชื้อซ้ำได้ ถ้าหากได้รับเชื้อต่างชนิดกัน
หลายท่านอาจมีอาการไข้ หรืออาการคล้ายเป็นหวัด แต่อาการดังกล่าวอาจเป็นอาการของโรคไข้เลือดออก สำหรับอาการเด่น หรือวิธีสังเกตอาการของโรคไข้เลือดออก ผู้ป่วยจะมีอาการดังนี้
- ไข้สูง (นาน 2-7 วัน)
- ปวดตัว ปวดกล้ามเนื้อ
- ปวดกระบอกตา
- ตัวแดง ตาแดง
ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก อาจมีอาการไข้สูงได้ถึง 40 องศา และอาจเกิดอาการชักจากไข้สูงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยเด็กเล็ก นอกเหนือจากอาการข้างต้นที่เป็นอาการเด่นของโรคไข้เลือดออกแล้ว ยังพบอาการระบบอื่นๆ ที่พบได้บ่อย ได้แก่
- เบื่ออาหาร
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ถ่ายเหลว
- ท้องอืด
โรคไข้เลือดออกมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ทั่วร่างกาย (เฉลี่ย 0.3-1%) ได้แก่ ภาวะตับอักเสบ ภาวะไตวาย ภาวะสมองอักเสบ และภาวะอวัยวะในร่างกายล้มเหลวหลายระบบ (Multiple Organ Failure: MOF) อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาวะแทรกซ้อนรุนแรงดังกล่าวจะสามารถพบได้น้อยแต่ต้องระวัง!
เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี เสี่ยงเกิดอาการชักจากไข้สูง อาการชักเนื่องจากภาวะสมองอักเสบจากไข้เลือดออก
ผู้ใหญ่อายุ 15-60 ปี เป็นกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันตอบสนองกับเชื้อไวรัสรุนแรง เสี่ยงเกิดโรครุนแรง เกิดภาวะตับอักเสบ หรืออวัยวะภายในอักเสบ ได้มากกว่าผู้ป่วยสูงอายุ
เคยติดเชื้อไข้เลือดออกมาแล้ว ผลกระทบจากการเคยติดเชื้อไข้เลือดออกมาแล้ว ผู้ป่วยกลุ่มนี้ร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันบางส่วน ทำให้ร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อครั้งที่ 2 หรือครั้งต่อๆ มา ได้มากขึ้นกว่าปกติ
ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคอ้วน โรคปอด โรคหัวใจ มีโอกาสเกิดโรครุนแรงได้มากกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยโรคปอด และโรคหัวใจ จะเสี่ยงเกิดอาการช็อก และทำการรักษาได้ยากกว่าผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ
ไข้เลือดออก จะแบ่งอาการออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะไข้ขึ้นสูง ระยะวิกฤตหรือระยะช็อก และระยะฟื้นตัว ซึ่งในช่วงระยะที่ 2 จะเกิดขึ้นเมื่อไข้เริ่มลดลงใน 24 ชั่วโมงแรก ซึ่งจะต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ หากไม่มีภาวะช็อกในช่วงระยะที่ 2 อาการป่วยจะค่อยๆ ดีขึ้น และเข้าสู่ระยะฟื้นตัว หรือระยะปลอดภัย
อาการที่บ่งบอกว่าผู้ป่วยใกล้จะหายจากโรคไข้เลือดออก และเข้าสู่ระยะปลอดภัยแล้ว หลังจากที่มีไข้สูงต่อเนื่องนาน 2-7 วัน ไข้จะเริ่มลดลงครบ 24 ชั่วโมง รู้สึกสบายตัวขึ้น เบื่ออาหารน้อยลง รู้สึกอยากรับประทานอาหาร และมีปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น ระบบไหลเวียนของโลหิต ความดันโลหิต และชีพจรเริ่มกลับมาเป็นปกติ ในระยะนี้มักมีผื่นแดงขึ้น คันตามร่างกาย ปลายมือ และปลายเท้า

 

ข่าว ณ. วันที่ 1 มิ.ย. 2566 เวลา 08.44 น. โดย คุณ จักรพงศ์ ลาวัลณย์รัตนากุล

ผู้เข้าชม 52 ท่าน

 
 
 
 
       
         
 
 
รับเรื่องราวร้องเรียน
โทร : 055-563-043