|
|
|
|
|
|
|
|
|
 
   
  |
|
ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลท่าสายลวด มีไฟฟ้าใช้ จำนวน 2,400 ครัวเรือน โดยใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอแม่สอด ซึ่งให้บริการในซีกตะวันตกของจังหวัดตาก ได้แก่ อำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด อำเภออุ้มผาง อำเภอพบพระ และอำเภอท่าสองยาง ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลท่าสายลวด มีการใช้บริการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอแม่สอด จำนวน 4,119 ครัวเรือน |
|
|
 
   
  |
|
ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลท่าสายลวดมีการใช้บริการประปา จำนวน 4,000 ครัวเรือน โดยใช้น้ำประปาจากการประปาส่วนภูมิภาค สาขาแม่สอด |
|
|
|
|
|

  
 |

 |
โทรศัพท์ |
|
ปัจจุบันเทศบาลตำบลท่าสายลวด ได้ใช้บริการโทรศัพท์ ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย สาขาแม่สอด และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งมีเครือข่ายของโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ AIS, DTAC, TRUE, CAT telacom |

 |
ไปรณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์ |
|

 |
มีไปรษณีย์ ให้บริการ เวลา 08.00 - 16.00 น. ในวันจันทร์ - เสาร์ (วันเสาร์ครึ่งวัน) จำนวน 1 แห่ง |
|

 |
มีสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สอด ให้บริการทุกวัน จำนวน 1 แห่ง |
|
|
|
|

  
 |

 |
โรงแรม |
จำนวน |
4 |
แห่ง |

 |
ร้านอาหาร |
จำนวน |
8 |
แห่ง |

 |
สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สอด |
จำนวน |
1 |
แห่ง |

 |
ร้านเกมส์ |
จำนวน |
6 |
แห่ง |

 |
ธนาคาร |
จำนวน |
1 |
แห่ง |

 |
สถานีบริการน้ำมัน |
จำนวน |
2 |
แห่ง |

 |
บริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด |
จำนวน |
16 |
แห่ง |

 |
ตลาดสด |
จำนวน |
3 |
แห่ง |

 |
ร้านค้าเบ็ดเตล็ด |
จำนวน |
399 |
แห่ง |

 |
ซุปเปอร์มาเก็ต |
จำนวน |
1 |
แห่ง |

 |
สหกรณ์การเกษตร |
จำนวน |
1 |
แห่ง |

 |
คลังสินค้า/ท่า |
จำนวน |
5 |
แห่ง |

 |
โรงงาน |
จำนวน |
42 |
แห่ง |
|
|
|
|
|
|
แหล่งท่องเที่ยวในเขตเทศบาลตำบลท่าสายลวด นับว่ามีความสำคัญ ในทางเศรษฐกิจ แต่ละปี จะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เดินทางมาเยี่ยมเยือนไม่น้อยกว่า 150,000 คนสร้างรายได้ จากการท่องเที่ยวไม่น้อยกว่า 80,000,000 บาทต่อปี แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ในพื้นที่เทศบาลตำบลท่าสายลวด มีจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ |
|
|
|

  
 |

 |
ตลาดริมเมย |
|
ตลาดริมเมย เป็นชุมชนบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเมย หมู่ที่ 2 ตำบลท่าสายลวดอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตรงข้ามกับอำเภอเมียวดี ของสหภาพเมียนม่าร์ เป็นตลาดค้าขายสินค้าพื้นเมืองมากมายทั้งของไทยและพม่า เช่น หน่อไม้แห้ง, ปลาแห้ง, ปลาหัวยุ่ง, เห็ดหอม, ถั่ว, เครื่องหนัง, ผ้าซาติน ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นตลาดการค้าอัญมณี เช่น หยก, ทับทิม และพลอยสีจากพม่า ริมฝั่งแม่น้ำเมยจะมีท่าเทียบเรือ นักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะข้ามไปฝั่งพม่าโดยทางเรือ จะต้องแลกเงินจ๊าตของพม่าตรงด่านตรวจคนเข้าเมืองฝั่งไทยก่อน เพื่อเป็นค่าผ่านแดนเข้าไปยังประเทศพม่า |
|
|
|

  
 |

 |
สะพานมิตรภาพไทย - พม่า |
|
สะพานมิตรภาพไทย - พม่า สำรวจและออกแบบโดยกรมทางหลวง เป็นสะพานชนิด Priestesses concrete girder type รวมความยาว 420 เมตร SKEW 45 กว้าง 10.5 เมตร (รวมทางเท้า) ก่อสร้างโดยศูนย์สร้างและบูรณะสะพานที่ 1 จังหวัดพิจิตร งบประมาณในการก่อสร้าง 79.2 ล้านบาท (เฉพาะสะพาน) เชื่อมต่อระหว่างบ้านแม่ตาว ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กับถนนสายผาอ่าง - เมียวดี จังหวัดเมียวดี รัฐคะยิ่น ของสหภาพเมียนม่าร์ ข้ามแม่น้ำเมยซึ่งแบ่งเขตแดนไทย - พม่า รัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่า จัดพิธีเปิดใช้สะพาน เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2540 พร้อมทั้งเปิดด่านถาวรระหว่างฝั่งไทยและพม่าอย่างเป็นทางการ ในด้านการท่องเที่ยวเป็นการส่งเสริมเส้นทางใหม่สำหรับการท่องเที่ยวระหว่างไทยและพม่า ให้เดินทางข้ามแดนได้อย่างสะดวกโดยเฉพาะเส้นทางแม่สอด - ย่างกุ้ง เป็นเส้นทางที่มีธรรมชาติสวยงาม ซึ่งจะเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ให้เดินทางผ่านสะพานมิตรภาพฯ แห่งนี้ |
|
|
|

  
 |

 |
วัดไทยวัฒนาราม |
|
วัดไทยวัฒนาราม ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 1 ตำบลท่าสายลวด พื้นที่เทศบาลตำบลท่าสายลวดวัดนี้แต่เดิมเรียกว่า “วัดแม่ตาวเงี้ยว” หรือ “วัดไทยใหญ่” เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2410 กระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดไทยวัฒนาราม” เมื่อปี พ.ศ. 2500 เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธมหามุนี ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่จำลองมาจากพระพุทธมหามุนีอันศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองของชาวเมืองมัณฑเลย์ในสหภาพเมียนม่าร์ จึงเป็นพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์และสวยงามที่ชาวพุทธให้ความเคารพศรัทธาเลื่อมใสกันมาก |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
|